วันศุกร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2553

รัฐบาลไทย และคณะรัฐมนตรี


รัฐบาลที่ 1>>> 
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ได้ทรงพระราชทานพระบรมราชานุมัติ ให้ใช้พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 และในวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 สภาผู้แทนราษฎรอันประกอบด้วย สมาชิกซึ่งคณะผู้รักษาพระนครฝ่ายทหารได้ตั้งขึ้น จำนวน 70 นาย ได้ประชุมกันเป็นครั้งแรก ณพระที่นั่งอนันตสมาคม
โดยที่ธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน มาตรา 33 บัญญัติว่า "ให้สภาเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้หนึ่งเป็นประธานกรรมการ และให้ผู้เป็นประธานนั้นเลือกสมาชิกในสภาอีก 14 นาย เพื่อเป็นกรรมการ การเลือกนี้เมื่อได้รับความเห็นชอบของสภาแล้ว ให้ถือว่าผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการของสภา"
ในการนี้ ได้มีสมาชิกเสนอให้มหาอำมาตย์โท พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) เป็นประธานคณะกรรมการราษฎร โดยสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้เลือก เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ประธานคณะกรรมการราษฎรได้เสนอชื่อคณะกรรมการราษฎรและสภาได้อนุมัติ เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475
คณะรัฐมนตรีคณะเริ่มแรกนี้สิ้นสุดเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 เพราะมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับถาว
รัฐบาลที่ 2>>> 
พระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรีคนที่ 1 หัวหน้าคณะรัฐมนตรีคณะที่ 2
พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) เป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงลงพระปรมาภิไธย และเจ้าพระยาพิชัยญาติ (ดั่น บุนนาค) ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ และในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 มีการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีคณะนี้สิ้นสุดลงโดยพระราชกฤษฎีกาให้ปิดประชุมสภาและตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476
รัฐบาลที่ 3>>> 
พระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรีคนที่ 1 หัวหน้าคณะรัฐมนตรีคณะที่ 3
พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) เป็นนายกรัฐมนตรี ตามความในข้อ 2 แห่งพระราชกฤษฎีกาให้ปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎรและตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ ๒๔๗๖ ซึ่งในประกาศนั้นบัญญัติให้รัฐมนตรีผู้ซึ่งว่าการกระทรวงต่าง ๆ อยู่ในเวลายุบสภาเป็นสมาชิกของคณะรัฐมนตรีใหม่โดยตำแหน่ง ส่วนรัฐมนตรีอื่น ๆ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งขึ้นโดยคำแนะนำของนายกรัฐมนตรี โดยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงลงพระปรมาภิไธย ในประกาศตั้งคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476
คณะรัฐมนตรีคณะนี้สิ้นสุดลงเพราะมีประกาศให้เปิดสภาผู้แทนราษฎรโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรยื่นคำร้องขอให้เรียกประชุมวิสามัญ
รัฐบาลที่ 4>>> 
คณะรัฐมนตรีคณะนี้สิ้นสุดลง เพราะได้มีการเลือกตั้งทั่วไป โดยเลือกสมาชิกประเภทที่ 1 ขึ้นและสมาชิกประเภทที่ 2 เดิมที่ให้ความไว้วางใจแก่คณะรัฐมนตรีก็สิ้นสุด

รัฐบาลที่ 5>>> 
คณะรัฐมนตรีคณะนี้สิ้นสุดลง เพราะเหตุที่รัฐบาลได้เสนอญัตติขอให้สภาผู้แทนราษฎรลงมติเห็นชอบด้วยความตกลงระหว่างประเทศ เรื่องควบคุมการจำกัดยางแต่สภาไม่เห็นชอบด้วย ความตกลงที่รัฐบาลได้ลงนามไปก่อน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีทั้งคณะจึงกราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่ง
รัฐบาลที่ 6>>>
คณะรัฐมนตรีชุดนี้สิ้นสุดลง เพราะเหตุที่นายเลียง ไชยกาล ผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี ตั้งกระทู้ถามเกี่ยวกับการขายที่ดินของพระคลังข้างที่ให้แก่บุคคลบางคน และต่อจากนั้นนายไต๋ ปาณิกบุตร ผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนคร ก็ได้เสนอญัตติเปิดอภิปรายทั่วไปในนโยบายว่าด้วยการจัดระเบียบทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ได้อภิปรายกันจนหมดเวลา และได้เลื่อนไปอภิปรายในวันต่อไป แต่นายกรัฐมนตรีได้กราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่งเพื่อให้โอกาสแก่ทุกฝ่ายได้สอบสวนตามความชอบธรรมและคณะรัฐมนตรีทั้งคณะก็ขอลาออกด้วย

รัฐบาลที่ 7>>>
คณะรัฐมนตรีคณะนี้สิ้นสุด เพราะเหตุที่สภาผู้แทนราษฎรที่ให้ความไว้วางใจแก่คณะรัฐมนตรีชุดนี้ได้สิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2480 คณะรัฐมนตรีจึงต้องออกจากตำแหน่ง

รัฐบาลที่ 8>>>
คณะรัฐมนตรีคณะนี้สิ้นสุดลงเพราะเหตุที่สภาผู้แทนราษฎรที่ให้ความไว้วางใจแก่คณะรัฐมนตรีได้สิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2481 โดยพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร คณะรัฐมนตรีนี้รักษาการไปจนถึงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2481 อันเป็นวันที่ตั้งนายกรัฐมนตรีใหม่ตามรัฐธรรมนูญ

รัฐบาลที่ 9>>>
คณะรัฐมนตรีคณะนี้สิ้นสุดเพราะเหตุที่นายกรัฐมนตรีและคณะได้กราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่งเพื่อที่จะให้โอกาสได้มีการเปลี่ยนแปลงคณะรัฐมนตรีเสียใหม่ให้เป็นการเหมาะสมแก่สถานการณ์ปัจจุบันเมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2485

รัฐบาลที่ 10>>>
คณะรัฐมนตรี คณะที่ 10 ของไทย (7 มีนาคม พ.ศ. 2485 - 1 สิงหาคม พ.ศ. 2487)
จอมพลแปลก พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2485
พระยามานวราชเสวี (ปลอด ณ สงขลา) ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

การปรับปรุงคณะรัฐมนตรี คณะที่ 10 ของไทย
คณะรัฐมนตรีชุดนี้ได้มีการเปลี่ยนแปลง คือ
§                     วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2485
§                                 พระยามไหสวรรย์ (กาย สมบัติศิริ) เป็นรัฐมนตรี
§                     วันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2485 เนื่องจากได้ประกาศใช้พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรม จึงปรับปรุงรัฐมนตรี ดังนี้
§                                 พลอากาศตรี มุนี มหาสันทนะ เวชยันต์รังสฤษฎ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
§                                 พลตรี จรูญ เสรีเริงฤทธิ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
§                                 หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
§                                 นาวาเอก หลวงศุภชลาศัย (บุง ศุภชลาศัย) เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และให้พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
§                     วันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2485
§                                 นายวิจิตร วิจิตรวาทการ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ แทน จอมพล แปลก พิบูลสงคราม
§                     วันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2485
§                                 พันตรี ควง อภัยวงศ์ พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และแต่งตั้งให้เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
§                                 พลโท จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ พันจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และแต่งตั้งให้เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
§                     วันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2485
§                                 พันเอก อุดมโยธา รัตนาวดี เป็นรัฐมนตรี
§                     วันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486
§                                 พันตรี ควง อภัยวงศ์ ลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
§                     วันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2486
§                                 หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
§                     วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2486
§                                 พันตรี หม่อมหลวงกรี เดชาติวงศ์ เป็นรัฐมนตรี
§                     วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2486
§                                 พลอากาศตรี เจียม อธึกเทวเดช โกมลมิศร์ ได้ขอกราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรี
§                     วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2486
§                                 พันตรี หม่อมหลวงกรี เดชาติวงศ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
§                     วันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2486
§                                 นายพลตำรวจโท อดุล อดุลเดชจรัส รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นรองนายกรัฐมนตรีอีกตำแหน่งหนึ่ง
§                     วันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2486
§                                 นายเดือน บุนนาค เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
§                                 พลอากาศตรี กาพย์ เทวฤทธิพันลึก ทัตตานนท์ เป็นรัฐมนตรี
§                     วันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2486
§                                 นายวิจิตร วิจิตรวาทการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้กราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่ง เนื่องจากได้รับแต่งตั้งเป็นเอกอัตรราชทูตไทย ประจำประเทศญี่ปุ่น
§                     วันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2486
§                                 นาวาอากาศเอก กาจ เก่งระดมยิง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ลาออกจากตำแหน่ง
§                                 นายดิเรก ชัยนาม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
§                                 นายกอ มไหสวรรย์ สมบัติศิริ รัฐมนตรีสั่งราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
§                                 พลตรี ไชย ประทีปเสน เลขาธิการคณะรัฐมนตรี
§                     วันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2486
§                                 นายวนิช ปานะนนท์ รัฐมนตรีสั่งราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และรัฐมนตรีสั่งราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพานิชย์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
§                     วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2486
§                                 พลโท พิชิต เกรียงศักดิ์พิชิต รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
§                                 พลโท สวัสดิ์ สวัสดิ์รณรงค์ รัฐมนตรี เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
§                     วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2486
§                                 นายอุทัย แสงมณี พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตราธิการ และแต่งตั้งให้เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
§                                 นาวาเอก สังวรณ์ สุวรรณชีพ เป็นรัฐมนตรี
§                     วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2487
§                                 นายวนิช ปานะนนท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ได้กราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่ง
§                     วันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2487
§                                 พันเอก ช่วง เชวงศักดิ์สงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในขณะที่ประจำอยู่จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นรองนายกรัฐมนตรีอีกตำแหน่งหนึ่ง มีอำนาจหน้าที่บริหารราชการทั้งสิ้น ที่จังหวัดเพชรบูรณ์ แทน นายกรัฐมนตรี
§                     วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2487
§                                 พันตรี หม่อมหลวงกรี เดชาติวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้กราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่ง เพื่อดำเนินกิจการของบริษัท ส่งเสริมอุตสาหกรรมไทย จำกัด
คณะรัฐมนตรีคณะนี้สิ้นสุดลง เนื่องจากสภาผู้แทนราษฎร ลงมติไม่อนุมัติ ร่างพระราชบัญญัติ อนุมัติพระราชกำหนดระเบียบบริหารราชการบริหารนครบาลเพชรบูรณ์ พุทธศักราช 2487 และ ร่างพระราชบัญญัติ อนุมัติพระราชกำหนดจัดสร้างพุทธบุรีมณฑล พุทธศักราช 2487
นายกรัฐมนตรีและคณะ จึงกราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่ง เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2487

รัฐบาลที่ 11>>>
คณะรัฐมนตรี คณะที่ 11 (1 สิงหาคม พ.ศ. 2487 - 31 สิงหาคม พ.ศ. 2488)
พันตรี ควง อภัยวงศ์ เป็น นายกรัฐมนตรี ประกาศพระบรมราชโองการ เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2487
นายปลอด วิเชียร ณ สงขลา ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ
คณะรัฐมนตรี ชุดที่ 11 สิ้นสุดลง เพราะเหตุที่นายกรัฐมนตรีและคณะ ได้กราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่ง โดยอ้างเหตุผลว่าได้มีการ ประกาศสันติภาพ ตามพระบรมราชโองการแล้ว เพื่อให้เป็นไปตามประเพณีนิยมแห่งวิถีการเมือง และเพื่อเปิดโอกาสให้ ผู้ที่มีความเหมาะสม ในอันที่จะยังมิตรภาพและดำเนินการเจรจา ทำความเข้าใจอันดีกับ ฝ่ายพันธมิตร เข้าบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อความวัฒนาถาวรของชาติสืบไป เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2488 ประกาศเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2488

รัฐบาลที่ 12>>>
คณะรัฐมนตรี คณะที่ 12 ของไทย (31 สิงหาคม 2488-17 กันยายน 2488)
นายทวี บุณยเกตุนายกรัฐมนตรีคนที่ 5 หัวหน้าคณะรัฐมนตรีคณะที่ 12
นายทวี บุณยเกตุ เป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศพระบรมราชโองการ เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2488
นายปรีดี พนมยงค์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เป็นผู้ลงนามในประกาศ
พระยามานวราชเสวี (ปลอด ณ สงขลา) เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ
คณะรัฐมนตรีคณะนี้สิ้นสุดลง เพราะเหตุที่นายกรัฐมนตรีพร้อมทั้งคณะได้กราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่ง เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2488 โดยอ้างเหตุว่า ได้พิจารณาเห็นว่าภารกิจอันเร่งด่วนที่คณะรัฐมนตรีคณะนี้พึงปฏิบัติได้สำเร็จลุล่วงไปแล้ว ต่อไปนี้ก็ปัญหาการเมืองและการทำความเข้าใจอันดีกับฝ่ายสหประชาชาติ จึงควรเปิดโอกาสให้ผู้ที่เหมาะสมได้เข้ามาบริหารราชการสืบแทนต่อไป

รัฐบาลที่ 13>>>
คณะรัฐมนตรี คณะที่ 13 ของไทย (17 กันยายน พ.ศ. 2488 - 31 มกราคม พ.ศ. 2489)
หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศพระบรมราชโองการ เมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2488
พระยามานวราชเสวี (ปลอด ณ สงขลา) ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ
คณะรัฐมนตรีคณะนี้สิ้นสุดลง เพราะเหตุที่สภาผู้แทนราษฎรชุดที่ให้ความไว้วางใจได้สิ้นสุดลง เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2488 โดยพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2488 คณะรัฐมนตรีคณะนี้ได้รักษาการไปจนถึงวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2489 ซึ่งเป็นวันตั้งนายกรัฐมนตรีใหม่ตามรัฐธรรมนูญ

รัฐบาลที่ 14>>>
คณะรัฐมนตรี คณะที่ 14 (31 มกราคม พ.ศ. 2489 - 24 มีนาคม พ.ศ. 2489)
พันตรี ควง อภัยวงศ์ เป็น นายกรัฐมนตรี ประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2489
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 เป็นผู้ทรงลงพระปรมาภิไธยในประกาศ
พระยามานวราชเสวี (ปลอด ณ สงขลา) ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ
คณะรัฐมนตรี คณะที่ 14 ของไทยสิ้นสุดลง เพราะเหตุที่ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ได้พิจารณา ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองค่าใช้จ่ายของประชาชนในภาวะคับขัน พ.ศ. 2489 (พ.ร.บ.ปักปัยข้าวเหนียว) ซึ่ง นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ (ส.ส.จังหวัดอุบลราชธานี) เป็นผู้เสนอ คณะรัฐมนตรีได้แถลงให้สภาทราบแล้วว่า คณะรัฐมนตรีไม่สามารถปฏิบัติตาม ร่างพระราชบัญญัตินั้นได้ และเกรงจะเป็นการเดือดร้อน แก่ประชาชนทั่วไป แต่สภาฯได้ลงมติรับหลักการ ด้วยคะแนนเสียง 65 ต่อ 63 รัฐมนตรีทั้งคณะ จึงได้กราบถวายบังคม ลาออกจากตำแหน่ง ตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2489 ประกาศเมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2489

รัฐบาลที่ 14>>>
พันตรี ควง อภัยวงศ์หลวงโกวิทอภัยวงศ์31 มกราคม พ.ศ. 2489
24 มีนาคม พ.ศ. 2489ลาออก (แพ้มติสภาที่เสนอพระราชบัญญัติที่รัฐบาลรับไม่ได้)

รัฐบาลที่ 15>>>
รัฐบาลที่ 16>>>
รัฐบาลที่ 17>>>
รัฐบาลที่ 18>>>
รัฐบาลที่ 19>>>
พันตรี ควง อภัยวงศ์หลวงโกวิทอภัยวงศ์10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490
21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491ลาออก (เป็นรัฐบาลรักษาการเพื่อจัดเลือกตั้งทั่วไป)


รัฐบาลที่ 20>>>
21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 249
18 เมษายน พ.ศ. 2491ลาออก (คณะรัฐประหารบังคับให้ลาออกภายใน 24 ชั่วโมง (รัฐประหารเงียบ))


รัฐบาลที่ 21>>>
รัฐบาลที่ 22>>>
25 มิถุนายน พ.ศ. 2492
29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494คณะบริหารประเทศชั่วคราวประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2475 อีกครั้งหนึ่งไปพลางก่อน (รัฐประหารตนเอง)


รัฐบาลที่ 23>>>
29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494
6 ธันวาคม พ.ศ. 2494
มีการแต่งตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 ขึ้นใหม่246 ธันวาคม พ.ศ. 2494


มีนาคม พ.ศ. 2495ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2495 (เลือกตั้งทั่วไป)


รัฐบาลที่ 25>>>
24 มีนาคม พ.ศ. 2495
21 มีนาคม พ.ศ. 2500สภาผู้แทนราษฎรครบวาระ (เลือกตั้งทั่วไป)


รัฐบาลที่ 26>>>
21 มีนาคม พ.ศ. 2500
16 กันยายน พ.ศ. 2500รัฐประหาร นำโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์คณะทหารนำโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ในฐานะผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร[16 กันยายน พ.ศ. 2500
21 กันยายน พ.ศ. 2500 5 วันแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่

รัฐบาลที่ 27>>>
รัฐบาลที่ 29>>>
รัฐบาลที่ 30>>>
รัฐบาลที่ 31>>>
รัฐบาลที่ 32>>>
รัฐบาลที่ 33>>>
นายสัญญา ธรรมศักดิ์14 ตุลาคม พ.ศ. 2516
22 พฤษภาคม พ.ศ. 2517ลาออก (อ้างเหตุร่างรัฐธรรมนูญไม่เสร็จ)



รัฐบาลที่ 34>>>
รัฐบาลที่ 35>>>
หม่อมราชวงศ์ เสนีย์ ปราโมช15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518
14 มีนาคม พ.ศ. 2518ไม่ได้รับความไว้วางใจ จากส.ส. ในการแถลงนโยบาย



รัฐบาลที่ 36>>>
รัฐบาลที่ 37>>>
หม่อมราชวงศ์ เสนีย์ ปราโมช20 เมษายน พ.ศ. 2519
25 กันยายน พ.ศ. 2519ลาออก (วิกฤตการณ์จอมพล ถนอม กลับประเทศเพื่ออุปสมบท)



รัฐบาลที่ 38>>>
25 กันยายน พ.ศ. 25196 ตุลาคม พ.ศ. 2519
11 วันรัฐประหาร โดยพลเรือเอก สงัด ชลออยู่คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินนำโดย พลเรือเอก สงัด ชลออยู่6 ตุลาคม พ.ศ. 2519
8 ตุลาคม พ.ศ. 2519
2 วันแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ และประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2519 เป็นผลให้คณะปฏิรูปฯ แปรสภาพเป็น สภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน



รัฐบาลที่ 39>>>
รัฐบาลที่ 40>>>
รัฐบาลที่ 41>>>
12 พฤษภาคม พ.ศ. 25223 มีนาคม พ.ศ. 2523ลาออก (วิกฤตการณ์น้ำมันและผู้ลี้ภัย)



รัฐบาลที่ 42>>>
รัฐบาลที่ 43>>>
30 เมษายน พ.ศ. 2526
5 สิงหาคม พ.ศ. 2529ยุบสภา(เลือกตั้งทั่วไป)



รัฐบาลที่ 44>>>
5 สิงหาคม พ.ศ. 2529
4 สิงหาคม พ.ศ. 2531ยุบสภา(เลือกตั้งทั่วไป)



รัฐบาลที่ 45>>>
รัฐบาลที่ 46>>>
รัฐบาลที่ 47>>>
รัฐบาลที่ 48>>>
รัฐบาลที่ 49>>>
รัฐบาลที่ 50>>>
รัฐบาลที่ 51>>>
รัฐบาลที่ 52>>>
รัฐบาลที่ 53>>>
รัฐบาลที่ 54>>>
รัฐบาลที่ 55>>>
11 มีนาคม พ.ศ. 2548
19 กันยายน พ.ศ. 2549ยุบ สภาเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2549 มีการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อ วันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549 แต่ต่อมาถูกศาลพิพากษาให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ ต่อมาเกิด รัฐประหาร โดยพลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน ระหว่างที่ ครม.รักษาการเพื่อรอการเลือกตั้งครั้งใหม่คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยฯ (คปค.)นำโดยพลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน19 กันยายน พ.ศ. 25491 ตุลาคม พ.ศ. 2549
12 วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2549 และแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่



รัฐบาลที่ 56>>>
รัฐบาลที่ 57>>>
นายสมัคร สุนทรเวช29 มกราคม พ.ศ. 25519 กันยายน พ.ศ. 2551
223 วันศาลรัฐธรรมนูญ ตัดสินให้พ้นจากตำแหน่ง เพราะกระทำการที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์9 กันยายน พ.ศ. 2551
18 กันยายน พ.ศ. 2551 9 วัน



รัฐบาลที่ 58>>>
รัฐบาลที่ 59>>>
คณะรัฐมนตรีคณะที่ 59 (17 ธันวาคม พ.ศ. 2551 - ปัจจุบัน) หรือเป็นที่รู้จักกันในนาม คณะรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ 1 (ครม. อภิสิทธิ์ 1) [1]
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี ตามประกาศพระบรมราชโองการ เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2551 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงลงพระปรมาภิไธยในประกาศ โดยมีนายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ และในวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่งตั้งคณะรัฐมนตรี โดยมี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น